วัดจองคำพระอารามหลวง

วัดจองคำพระอารามหลวง

          วัดจองคำพระอารามหลวง รหัสวัด ๐๓๕๘๐๑๐๐๔ ตั้งอยู่เลขที่ ๕ ถนน ชำนาญสถิตย์ ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย โทรศัพท์ ๐๘ ๕๑๘๙ ๔๙๔๕ ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่จำนวน ๔ ไร่ ๑ งาน ๘๙.๖๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๖๔, แปลงที่ ๒ โฉนดเลขที่ ๔๕๓ มีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๔๖ ตารางวา , แปลงที่ ๓ โฉนดเลขที่ ๔๕๗ มีเนื้อที่ ๓ งาน ๓๐.๗๐ ตารางวา

อาณาเขต        ทิศเหนือ                จด       ซอยชำนาญสถิตย์

                         ทิศใต้                      จด       ถนนสาธารณะประโยชน์

                         ทิศตะวันออก        จด       ที่ดินเอกชนและถนนสาธารณะประโยชน์

                         ทิศตะวันตก           จด       ถนนประดิษฐ์จองคำ

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

              อุโบสถ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

              ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๙ เมตร ยาว ๓๗.๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นอาคารไม้

              กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๒ หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้จำนวน ๑ หลัง

              วิหาร กว้าง ๒๖.๒๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

              ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๘ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กนอกจากนี้ยังมี หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง โรงครัว จำนวน ๑ หลัง ห้องน้ำ จำนวน ๘ ห้อง

              วัดจองคำพระอารามหลวง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ วัดจองคำพระอารามหลวง กล่าวกันว่าวัดจองคำแห่งนี้เป็นเสมือนภาพลักษณ์แทนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกอบไปด้วยภาพของสถาปัตยกรรมแบบพม่า แวดล้อมด้วยทิวทัศน์อันงดงาม จากบันทึกของวัดเล่าว่า วัดจองคำเป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกของเมืองแม่ฮ่องสอน โดยระบุหลักฐานแผ่นเงิน ซึ่งขุดได้บริเวณหลุมเสาเดิมของวัดว่า สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๐ พระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก ซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่ที่มีนามเดิมว่า “ชานกะเล”  เป็นผู้สร้างวัดจองคำพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ได้และรับพระราชทานให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา

การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖

การบริหารและการปกครอง

                       ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                       รูปที่ ๑ พระอู่หน่าก๊ะ พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๘๑

                       รูปที่ ๒ พระอูหน่อง พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๕

                       รูปที่ ๓ พระต่อปี่ต๊ะ พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗

                       รูปที่ ๔ พระคำ พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๘

                       รูปที่ ๕ พระครูอนุสุตศาสนจักร พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๒๗

                       รูปที่ ๖ พระครูอนุกูลธรรมโชติ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๕

                       รูปที่ ๗ พระมหาชัยพร พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๖ รักษาการอาวาส

                       รูปที่ ๘ พระครูอนุสรณ์ชัยสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗- ปัจจุบัน


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 553,119